เมื่อวันที่ 4 ต.ค. นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามความคืบหน้าการดำเนินการก่อสร้างสถานีสามยอด (จุดเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน และสถานีวงเวียนใหญ่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง(ใต้) ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) โดยมีนายปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ , นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร และนายวีรภัทร คันธะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)ในพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ พรรคก้าวไกล และคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ด้วย
นายสุรพงษ์ เปิดเผยว่า หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ส.ส.พรรคก้าวไกล ตั้งกะทู้ถามในสภาฯ ถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จึงได้ลงพื้นที่ลงตรวจสอบข้อเท็จจริงทันที ซึ่งก่อนหน้านี้ได้สั่งการผู้ว่าการ รฟม. ให้กำชับผู้รับจ้างกระชับการปิดช่องจราจร เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และการตรวจเยี่ยมครั้งนี้ได้มอบนโยบายเพิ่มเติม ให้ รฟม. ร่วมกับ ส.ส.ในพื้นที่ประสานกับประชาชน เพื่อขอเพิ่มเวลาการก่อสร้างในกิจกรรมที่มีเสียงดังจากเดิมต้องเสร็จสิ้นภายในช่วง22.00น. ได้หรือไม่ โดยให้ยึดเวลาที่ประชาชนสามารถรับได้ เพื่อให้มีเวลาในการทำงาน และก่อสร้างแล้วเสร็จรวดเร็ว สามารถคืนผิวจราจรให้ประชาชนได้เร็วขึ้น
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่าขอให้ทุกโครงการก่อสร้างใช้โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เป็นต้นแบบแก้ไขปัญหาในการจัดเวลาการทำงานให้มีประโยชน์ในการก่อสร้างมากที่สุด เพื่อให้ระยะเวลาการก่อสร้างเร็วขึ้น ช่วยลดปัญหาการจราจรในพื้นที่การก่อสร้าง และทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามได้รับรายงานจาก รฟม. เบื้องต้นว่า ประมาณเดือน ส.ค.67จะสามารถคืนผิวจราจรโครงการฯ ให้ประชาชนได้ทั้งหมด โดยเฉพาะในพื้นที่ก่อสร้างที่เป็นทางใต้ดิน ส่วนทางยกระดับตั้งแต่บริเวณดาวคะนอง จนถึงครุใน(ปลายทาง) ยังต้องปิดด้านละ1ช่องจราจร เพราะยังจำเป็นต้องใช้ผิวจราจรสำหรับการยกวัสดุก่อสร้างทางวิ่ง จึงทำให้ส่วนนี้ยังไม่สามารถคืนผิวจราจรได้เต็ม100%
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ยืนยันว่ารัฐมนตรีไม่ได้ลอยตัวเหนือปัญหา เมื่อรับทราบว่าประชาชนเดือดร้อน ได้รับผลกระทบก็ต้องลงพื้นที่มาดูแล และรับฟังปัญหาทันที ซึ่งจากการลงพื้นที่มีชาวบ้านมาร้องเรียนเรื่องความไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการประเมินราคาที่ดิน จึงได้มอบให้ รฟม. และ ส.ส.ในพื้นที่ ร่วมจัดหาองค์กรกลางมาเป็นผู้ประเมิน และนำตัวเลขมาคุยกันระหว่างผู้รับจ้าง และประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมกับทุกฝ่ายนอกจากนี้ยังได้มอบให้ รฟมคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg. ประสานกับหน่วยงานสาธารณูปโภค อาทิ ประปา และไฟฟ้า ที่ยังมีงานก่อสร้างบนพื้นผิวจราจรในพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง โดยในสัปดาห์หน้าให้นำมารายงานว่า กรอบการทำงานที่ชัดเจนเป็นอย่างไร และจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่ เพื่อไม่ให้ รฟม. ตกเป็นจำเลยของสังคมว่ายังไม่คืนผิวจราจรให้ประชาชน
ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟมคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต. กล่าวว่า ปัจจุบันผู้รับจ้างจะเริ่มงานก่อสร้างตั้งแต่ประมาณ08.00-22.00น. ของทุกวัน โดยช่วงเวลาหลังจากนั้นจะทำได้เฉพาะกิจกรรมที่ไม่ส่งเสียงดังเท่านั้น อาทิ การขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างเข้ามาในพื้นที่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามขณะนี้ภาพรวมการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ มีความคืบหน้า18.6%คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี71และเปิดบริการประมาณปี72ในส่วนของการจัดหาเอกชนบริหารเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้นั้น ขณะนี้รฟม.อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด เพื่อจัดทำเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. พิจารณาเห็นชอบภายในปี66ก่อนจะดำเนินการตามขั้นตอนเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ซึ่งต้องเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการPPPและคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป
นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่า การเจรจากับเอกชนรายเดิมผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – คลองบางไผ่ คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือBEMเป็นวิธีการที่คุ้มค่ามากที่สุด และการมีเอกชนเดินรถรายเดียว จะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางเชื่อมต่อระบบ อีกทั้งยังทำให้สามารถคุมต้นทุนได้มากกว่าการมีเอกชนเดินรถสองราย ซึ่งเมื่อต้นทุนไม่สูงก็จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง ทั้งนี้รูปแบบก็จะไม่ต่างไปจากสายสีน้ำเงิน หรือสายสีเขียว ที่ทำให้ผู้โดยสารเดินทางต่อระบบสะดวก ทั้งนี้หากข้อสรุปสุดท้ายให้เจรากับเอกชนรายเดิมเข้ามาเดินรถ ก็จะต้องเริ่มขั้นตอนเจรจาภายในปี69เพื่อให้ทันกับการเปิดบริการในปี72
นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของนโยบายรถไฟฟ้า20บาทตลอดสายนั้น แนวโน้มการร่วมทุนจะเป็นแบบPPP Gross Costเหมือนรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน – คลองบางไผ่ ที่ทางภาครัฐเป็นผู้รับความเสี่ยง โดยกรรมสิทธิ์จัดเก็บรายได้เป็นของภาครัฐ ส่วนเอกชนจะเป็นผู้จัดเก็บรายได้ค่าผ่านทาง และภาครัฐจะจ่ายค่าตอบแทนให้ตามสัญญา ทั้งนี้ข้อดีของการจัดทำPPP Gross Costจะจูงใจเอกชนร่วมลงทุนมากกว่า เพราะไม่ต้องใช้วงเงินลงทุนจำนวนสูง ขณะเดียวกันภาครัฐยังเป็นเจ้าของกรรรมสิทธิ์จัดเก็บรายได้ ทำให้สามารถคุมราคาค่าโดยสารให้เหมาะสมได้
ขณะที่นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.พรรคก้าวไกล กล่าวว่า จากการที่เป็น ส.ส. สมัยที่2เห็นความแตกต่างการทำงานที่ชัดเจน เพราะระดับบริหารลงพื้นที่หน้างานตรวจสอบ แก้ไขปัญหา และตอบสนองความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างดี ต้องขอชื่นชม รมช.คมนาคม และผู้บริหารกระทรวงคมนาคมด้วย ซึ่งทันทีที่แจ้งว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อน ก็ได้เห็นหน่วยงานที่รับผิดชอบลงพื้นที่มาแก้ไขปัญหาทันที ถือเป็นความสวยงามของระบอบประชาธิปไตย